เทคนิคขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษาทุเรียน ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว

เทคนิคขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษาทุเรียน ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว

การเตรียมดิน
1. พื้นที่ดอน

– ไถพรวน ปรับพื้นที่ให้เรียบ ขุดร่องระบายน้ำในสวน

2. พื้นที่ลุ่ม

– พื้นที่น้ำท่วมขังไม่มากนำดินเทกองตามผังปลูกสูงประมาณ 0.75 – 1.20 เมตร

– พื้นที่น้ำท่วมขังมาก ยกร่องสวนให้มีขนาดสันร่องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ร่องน้ำสวนให้มีขนาดสันร่องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 ม.

 

การเลือกต้นพันธุ์ทุเรียน

การเลือกต้นพันธุ์

1. ต้นแข็งแรงสมบูรณ์ ตรงตามพันธุ์

2. ไม่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า

3. ระบบรากไม่ขดงอ มีใบหนาและเขียวเข้ม

 

วิธีการปลูก

1. ระยะปลูก 8×8 เมตร หรือ 10 x 10 เมตร

2. เตรียมหลุมปลูก หลุมกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50 x 50 x50 ซม.

3. แบบนั่งแท่นหรือยกโคก ไม่ต้องขุดหลุมปลูก วางต้นพันธุ์แล้วขุดดินมากลบจนอยู่ในระดับเดียวกับผิวดินของต้นพันธุ์

 

เก็บเกี่ยวผลผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

1. ทำการเก็บเกี่ยวตามอายุผลของแต่ละพันธุ์

2. หลังเก็บเกี่ยว ให้รีบตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค ทารอยแผลที่ตัดด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราหรือปูนแดง

3. ให้กำจัดวัชพืช

4. ใส่ปุ๋ยทันที

– ทางดิน ครั้งแรก ใส่ปุ๋ย เช่น ปุ๋ยคอกปริมาณ 20-50 กิโลกรัมต่อต้น หรือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ปริมาณ 2-5 กิโลกรัม/ต้น

– ทางใบ ใช้ปุ๋ยยูเรียหรือธาตุอาหารรองเมื่อจำเป็น หรือปุ๋ยสูตรทางด่วน น้ำตาลกลูโคส หรือน้ำตาลเดร็กโตรส 600 กรัม+
กรดฮิวมิก 20 ซีซี.+ปุ๋ยเกล็ด 15-30-15 หรือ 10-20-30 ที่มีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมร่วมด้วย อัตรา 60 กรัม น้ำ 20 ลิตร

 

การป้องกันกําจัดศัตรูพืช

1. โรครากเน่าโคนเน่า: ขูด ทาด้วยปูนแดง, เมทาแลกซิล, กรดฟอสฟอรัส, ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา, ขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออกนำไปเผาทำลายทิ้ง แล้วทาแผลด้วยปูนแดงหรือเมตาแลกซิล 25% ดับบลิวพี อัตรา 50-60 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร

วิธีแนะนำเพื่อควบคุมปริมาณของเชื้อสาเหตุโรคให้มีปริมาณลดน้อยลงจนไม่ส่งผลเสียหายกับผลผลิต โดยมีคำแนะนำดังนี้

1. เมื่อสำรวจพบอาการของโรครากเน่าโคนเน่า ควรทำการรักษาทันที เพื่อลดการลุกลามของเชื้อโรค

2. ทุกปีหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว ควรมีการลดปริมาณเชื้อสาเหตุในดินให้น้อยลง โดยการใส่เชื้อราปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์ม่าลงไปในดิน ถ้าพบต้นที่มีอาการทรุดโทรมมาก ควรฝังเข็มด้วยฟอสฟอรัส แอซิด และราดโคนต้นด้วยสารเคมีเมธาแลคซิล กระตุ้นการสร้างรากใหม่ด้วยฮิวมิค แอซิด

3. ถ้าแผลที่สำรวจพบมีขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก การรักษาแผลด้วยสารเคมีจะให้ผลดีมากที่สุด แต่ถ้าแผลมีขนาดเล็กการรักษาด้วยสารเคมีร่วมกับการใช้เชื้อราปฏิปักษ์ก็สามารถกำจักเชื้อสาเหตุโรคได้

4. การใช้สารกระตุ้นเพื่อให้พืชสร้างความต้านทานต่อโรค นั้นพบว่าต้องใช้ระยะเวลานานเกินไปซึ่งไม่ทันเวลาถ้าพืชถูกเชื้อโรคเข้าทำลายแล้ว ได้ผลค่อนข้างน้อยไม่คุ้มต่อการลงทุน

5. การหมั่นตรวจตรา เดินสำรวจสวนเป็นวิธีการที่ดี สามารถควบคุ้มโรคได้ทันเวลา

2.โรคราสีชมพู : ใช้คอปเปอร์ออกซีคลอไลด์ 85% ดับบลิวพี อัตรา 45-60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

3. โรคราใบติด : เผาทําลายเมื่อระบาดเล็กน้อย, คาร์เบนดาซิม 50% ดับบลิวพี อัตรา 10 กรัม ดับบลิวพี หรือคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับบลิวพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

4. กำจัดเพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ไรแดง หนอนเจาะผล หนอนเจาะเมล็ด

5. กำจัดวัชพืช ตัดวัชพืชให้สั้นทุก 2-3 เดือนด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบต่าง ๆ หรือ ใช้สารกำจัดวัชพืช

 

การปฏิบัติด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว

1. คัดขนาดและคัดคุณภาพ ตามมาตรฐานคุณภาพของทุเรียน

2. ทำความสะอาดผลทุเรียนที่คัดคุณภาพแล้ว โดยใช้แรงลมเป่า เพื่อกำจัดเศษวัสดุและแมลงบางชนิดออกจากผิวผล จากนั้นจุ่ม
ผลทุเรียนในสารละลายของสารเคมีเบนโนมิล + กรดฟอสฟอรัส เพื่อป้องกันโรคผลเน่า

3. จุ่มผลทุเรียนในสารละลายเอทธิฟอน 1,000-2,000 พีพีเอ็ม หรือจุ่มเฉพาะส่วนก้านผลในสารละลายเอทธิฟอน 10,000 พีพีเอ็ม
ในกรณีที่ต้อง ขนส่งทุเรียนทางอากาศ ซึงใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ก่อนถึงผู้บริโภค เพื่อทำให้ผลทุเรียนสุกเสมอกัน

4. ผึ่งผลให้แห้งบนแท่นรองรับสินค้า

5. เมื่อผลทุเรียนแห้งแล้ว จึงติดป้ายชื่อสินค้าที่ขั้วผลทุเรียน แล้วจึงบรรจุลงกล่องกระดาษลูกฟูก ขนาดบรรจุ 10 กก. ต่อกล่อง
แล้วขนย้ายด้วย รถพ่วงสินค้าห้องเย็น ไปยังท่าเรือ หรือท่าอากาศยาน เพื่อจำหน่าย

 

การให้ปุ๋ย

1. ครั้งที่ 1 เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของต้น ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 2-5 กิโลกรัม/ต้น หลังการเก็บเกี่ยว ช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.

2. ครั้งที่ 2 ให้เมื่อใบที่แตกใบอ่อนครั้งแรกเริ่มเป็นใบแก่แล้ว ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 8-24-24 ด้วยอัตรา 2-5 กิโลกรัม/ต้น
เพื่อชักนำให้ออกดอก ช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.

3. ครั้งที่ 3 เมื่อผลทุเรียนมีขนาดผลเท่าหมากดิบ ใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2อัตรา 1-3 กิโลกรัม/ต้น เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโต
ของผลและคุณภาพเนื้อภายใน ช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.

Cr. วิจิตร วงษ์ทอง

ใส่ความเห็น