แนวทางการรักษาและป้องกันโรคต้นเน่าโคนเน่าของต้นทุเรียน

แนวทางการรักษาและป้องกันโรคต้นเน่าโคนเน่าของต้นทุเรียน

แนวทางรักษาและป้องกันโรคต้นเน่าโคนเน่าของต้นทุเรียน
1. หากเจอร่องรอยโรคเร็ว ถากหรือขูดหรือบั้งเปลือกแล้วทาด้วยเมทาเลคซืล 3-4 ครั้ง
2. หากเนื้อเยื่อเน่าเข้าเนื้อไม้ ต้องฝังเข็มโดยใช้ ฟอสฟอรัสแอซิก (ชื่อการค้าก็โฟริอาและอื่นๆ) สารตัวนี้เป็นพิษกับเชื้อไฟทอปโทร่า (ผมใช้ โฟริอา 700 cc ผสมน้ำกลั่น 300 cc หรือตามความเหมาะสม) มันมีโมเลกุลเล็กเข้าสู่ท่อลำเลียงในทุเรียนได้ 2-3 ครั้งแต่ละรอบห่างประมาณ 20 วัน เลือกวันที่แดดออกพืชจะดูดซับสารได้ดี เมื่อเข้าสู่ภาวะปกติปีละ1 ครั้งต้นฝน หากเป็นแผลเน่าให้ฝังรอบแผลด้วย
3. การอุดรูที่เจาะสว่านแนะนำใช้เทียนไขขนาดพอเหมาะและปิดปากรูซ้ำด้วยปูนแดง(ปูนกินหมาก)
4. หากจะป้องกัน ผมฝังก่อนเข้าหน้าฝนหรือต้นฝน สวนในรูปเมื่อเข้าดูแล มีทั้งเน่ามาก เน่าน้อย ใช้ 2 วิธีข้างต้น ได้ผลดีครับ ป้องกันดีกว่าแก้ไข
5. เมื่อเป็นต้นเน่าควรงดน้ำตาลทางด่วน สาหร่าย อาหารเสริมทางใบ ปุ๋ยทางใบ…สักระยะ ราสังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ อาหารอาศัยจากรอบๆตัวมัน มีเชื้อ มีอาหาร อุณหภูมิได้ ความชื้นเหมาะ มันก็เข้าทางรา
6.เชื้อราไฟทอปโทร่าชอบสภาวะกรด ไม่ชอบสภาวะด่าง
7. วัด PH ดินไม่ได้ทำให้ราหายแต่คุณจะรู้อะไรหลายๆอย่างในดิน

การป้องระยะยาว
1. สวนต้องมีทางระบายน้ำอย่าให้น้ำขังหรือมีความชื้นสูง
2. ดูแลเช็ค ph ดินสม่ำเสมอ
3. ช่วงฝนหนาแน่นไม่ควรใส่ปุ๋ย รากอาจจะเน่า..ได้
4. ไนโตรเจนจากฝนมีพอสมควรแล้ว หาสารอาหาร 2 ตัวหลังเพิ่มก็พอมั้ง?
5. แบคทีเรียบางชนิดก็ทำให้ต้นเน่าได้คล้ายกับไฟทอปโทร่า หากปาดชั้นเนื้อเยื่อแล้วเหม็นเปรียวโอการสูงที่จะเป็นแบคทีเรีย
6. ไตรโคเดอม่า ใช้ให้สม่ำเสมอ
7. มีสารชีวภัณฑ์หลายตัวที่ถูกนำมาใช้อย่างได้ผล

¥¥ ยาราพื้นๆบวกความเข้าใจ นี่ล่ะดีที่สุดแล้ว
¥¥ ระบบรากเน่าเสียหายหนัก กินสารอาหารไม่ได้ต้นอ่อนแอโรคอื่นๆก็จะตามมา
¥¥ ใส่ปุ๋ยซ้ำๆที่เดิมบ่อยๆหรือไม่มีอินทรีย์วัตถุช่วย ทุเรียนราคาแพงโด็ปปุ๋ยกันตามราคา..และอีกหลายๆเหตุ
¥¥ ราสีชมพูจากกลุ่มตัวอย่างที่นักวิชาการจากกรมนำเนื้อเยื่อไปตรวจยังไม่เจอ เจอแต่ไฟทอปโทร่า ส่วนขุยๆสีชมพูเป็นเชื้ออีกตัว ไม่ใช่ราสีชมพู

Cr. เทคนิคสวนทุเรียน

ใส่ความเห็น